วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดการฐานข้อมูล

การจัดการฐานข้อมูล (Database Management)
การประมวลผลแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของแฟ้มข้อมูล (Methods of File Organization)ข้อมูลต่าง ๆ หากมีปริมาณมาก ๆ จะต้องเก็บในสื่อบันทึกข้อมูลสำรองต่าง ๆ โดยจะมีรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลของแฟ้มข้อมูล 3 ประเภทคือ
1.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File)

เก็บในเทปแม่เหล็ก โดยข้อมูลจะเรียงลำดับต่อเนื่องจากตั้งแต่ต้นเทปจนท้ายเทป การอ่านจะต้องเริ่มอ่านตั้งแต่ต้นเทปจนกว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ มักเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเรียงลำดับ เช่น เรียงลำดับตามชื่อ หากจะต้องมีการเพิ่ม แก้ไข หรือถ่ายโอนข้อมูล จะต้องมีเทปอีกอันหนึ่งในการกระทำต่าง ๆ

ข้อดี
·ป้องกันการสูญหายของข้อมูล เนื่องจากไม่มีการบันทึกทับลงบนข้อมูลเดิม

·ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าแบบสุ่ม

·ใช้ได้กับสื่อบันทึกได้ทุกประเภท ราคาถูก

·ง่ายต่อการสร้างแฟ้มข้อมูล

ข้อจำกัด
·ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง

·การประมวลผลข้อมูลมีความล่าช้า ต้องเสียเวลาในการข้อมูลทุกเรคคอร์ด

2.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มหรือแบบโดยตรง (Random/direct File)

เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยอาศัย Key Field เป็นค่าคีย์ในแต่เรคคอร์ดที่ไม่ซ้ำกันในการอ่าน ค้นหา ข้อมูล สำหรับบอกตำแหน่งในดิสก์ มีการจัดเก็บข้อมูล 2 รูปแบบDirect Addressing กำหนดค่าองคีย์ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น หมายเลขเช็คที่ไม่ซ้ำกัน กับ ข้อมูลในเช็คนั้น

ข้อดี

·เหมาะสมกับงานที่ต้องการความรวดเร็ว

·สามารถบันทึกข้อมูล อ่านข้อมูล หรือปรับปรุงข้อมูลได้โดยตรง

·ใช้เวลาในการประมวลผลน้อย

ข้อจำกัด
·การเขียนโปรแกรมมีความสลับซับซ้อนมากกว่าแบบเรียงลำดับ

·ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับ ในการจองตำแหน่ง

·ไม่สามารถจัดรียงลำดับข้อมูลในแฟ้มได้ตามความต้องการ

·ในการเพิ่มข้อมูลหรือการปรับปรุงข้อมูลทำได้ยากกว่าแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ

Hash Addressing เป็นการแปลงค่าของคีย์ให้อยู่ในรูปของค่าตำแหน่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลบนดิสก์ เรียกว่า Key Transformation อาศัยฟังก์ชัน Hashing Algorithms ในการคำนวณต่าง ๆ
3.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดัชนี (Indexed Sequential File)

เป็นอีกลักษณะหนึ่งของการจัดเก็บแบบสุ่ม โดยเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งแบบเรียงลำดับ และแบบโดยตรง โดยจะแบ่งโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดัชนีเป็น 2 ส่วน คือ

แฟ้มข้อมูลดัชนี (Index File) จะเก็บคีย์และตัวชี้ (Pointer) ไปยังตำแหน่งของข้อมูลและทำหน้าที่ควบคุมการเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้มข้อมูลอีกที่หนึ่ง

แฟ้มข้อมูล (Data File) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ โดยแฟ้มข้อมูลจะมีแฟ้มข้อมูลดัชนีได้มากกว่าหนึ่งแฟ้ม

ข้อดี
·การเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งแบบเรียงลำดับและแบบสุ่ม

·การค้นหาข้อมูลจากแฟ้มทำได้รวดเร็ว

·การบันทึกเพิ่มข้อมูลลงแฟ้ม ข้อมูลชุดใหม่จะถูกจัดลำดับตามค่าของคีย์ให้โดยอัตโนมัติ

ข้อจำกัด
·ไม่สามารถจัดลำดับของข้อมูลให้อยู่ในลำดับที่ต้องการได้ เพราะข้อมูลจะถูกจัดเรียงค่าให้อัตโนมัติ

·เปลืองเนื้อที่ในการเก็บแฟ้มดัชนี
เปรียบเทียบการประมวลผลระบบแฟ้มข้อมูลและระบบฐานข้อมูล
ข้อดีของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล
·การประมวลผลข้อมูลทำได้รวดเร็ว

·ค่าลงทุนในเบื้องต้นจะต่ำอาจไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์มีความสามารถ

·โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมสามารถควบคุมการใช้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้

ข้อเสียของการประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล
·มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy)

· เป็นความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้ม

· ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมเฉพาะด้าน จะดูแลด้านนั้น

·ความขึ้นต่อกัน (Dependency) ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล เมื่อมีการปรับปรุงโครงสร้างข้อมูล จะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลด้วย
ฐานข้อมูลและองค์ประกอบฐานข้อมูล
ความหมายของฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านธนาคาร จะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเงินฝาก ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ และมีความสัมพันธ์กัน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพฐานข้อมูล ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านธนาคาร จะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเงินฝาก ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ และมีความสัมพันธ์กัน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.โปรแกรม (Program)ในการประมวลผลฐานข้อมูลนั้น ต้องใช้งานหลายรูปแบบ จึงจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้ เช่น ควบคุมดูแลฐานข้อมูล สร้างฐานข้อมูล สร้างรายงาน จัดการรายงาน เป็นต้น เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management : DBMS) โดยโปรแกรมเหล่านี้ทำหน้าที่จัดการฐานข้อมูลและเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ฉะนั้น ระบบจัดการฐานข้อมูลจึงมีหน้าที่ดังนี้

2.1 กำหนด และเก็บโครงสร้างฐานข้อมูล (Define and Store Database Structure)

2.2 การบรรจุข้อมูลจากฐานข้อมูล (Load Database)

2.3 เก็บและดูแลข้อมูล (Store and Maintain Data)

2.4 ประสานงานกับระบบปฏิบัติการ (Operating System)

2.5 ช่วยควบคุมความปลอดภัย (Security Control)

2.6 การจัดทำข้อมูลสำรองและการกู้ (Backup and Recovery)

2.7 ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้ในระบบ (Concurrency Control)

2.8 ควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล (Integrity Control)

2.9 ทำหน้าที่จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (data Dictionary)
3.ข้อมูล (Data)

ฐานข้อมูลเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างมีระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเรียกใช้ร่วมกันได้
บุคลากร (People) มีดังนี้
4.1ผู้ใช้ทั่วไป (User)
4.2พนักงานปฏิบัติการ (Operator)
4.3นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
4.4ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน (Programmer)
4.5ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
5.5ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedures)ควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่งานต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะช่วยในการทำงานและแก้ปัญหา
ประเภทและสถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของฐานข้อมูล
โครงสร้างของข้อมูลโดยทั่วไปจะมี 3 แบบด้วย
1.ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical Database)
2.ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network database)
3.ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
1.ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical Database)ลักษณะคล้ายต้นไม้ที่คว่ำหัวลง หรือเรียกอีกแบบว่าโครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree Structure) โดยมีระเบียนที่อยู่แถวบนเรียกว่า ระเบียนพ่อแม่ (Parent Record) ระเบียนในแถวถัดลงมาจะเรียกว่า ระเบียนลูก (Child Record)
2.ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network database)
ข้อมูลภายในฐานข้อมูลนี้สามารถมีความสัมพันธ์กันแบบใดก็ได้
รหัสร้านผู้ผลิตสินค้า
ชื่อร้านผู้ผลิตสินค้า
รหัสร้านสินค้า
ชื่อสินค้า
ราคาต่อหน่วย
จำนวนที่มี
รหัสที่เก็บสินค้า
ขนาดบรรจุสินค้า
ระเบียนร้านผู้ผลิตสินค้า
ระเบียนสินค้า ระเบียนที่เก็บสินค้า
3.ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)มีโครงสร้างข้อมูลที่ต่างจากฐานข้อมูลอื่น คือ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของ ตาราง (Table)สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูลระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย โครงสร้างของข้อมูลที่ผู้ใช้หลายกลุ่ม สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ การแบ่งระดับของข้อมูลออกเป็นระดับต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้ข้อมูลของผู้ใช้เป็นไปอย่างเหมาะสม แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

1.ระดับภายนอก (External Level)

2.ระดับภายใน (Internal Level)

3.ระดับหลักการ (Conceptual Level)

1.ระดับภายนอก (External Level)เป็นระดับการมองของข้อมูลภายในฐานข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน เช่น โปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ปฏิบัติการ โดยเป็นระดับที่ผู้ใช้นำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

2.ระดับภายใน (Internal Level)ประกอบด้วยเค้าร่างที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลจริง ๆ ว่ามีโครงสร้างการจัดเก็บรูปแบบใด รวมถึง วิธีการเข้าถึง ข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการ เช่น Indexing Pointers เป็นต้น ระดับนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ

3.ระดับหลักการ (Conceptual Level)ประกอบด้วยเค้าร่างที่อธิบายถึงฐานข้อมูลรวมว่ามีเอนทิตี้ โครงสร้างของข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูลกฏเกณฑ์และข้อจำกัดต่าง ๆ ข้อมูลระดับนี้เป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เป็นระดับข้อมูลที่ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในระดับภายนอกสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้หลายรูปแบบ

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สร้าง Ebook

สร้าง Ebook เองแบบง่ายๆด้วยไมโครซอฟท์ Word
Ebook หรือหนังสืออิเลคโทรนิคก็เป็นอีกลูกเล่นหนึ่งในความสามารถของเครื่อง PDA และ PDA Phone ทั้งของค่าย Palm และ Pocket PC ก็มีเช่นกัน ประโยชน์หลักๆก็เพื่ออ่านแก้เหงา แก้เบื่อ แก้เว็ง หรืออ่านเพื่อหาความรู้ โดยไฟล์ Ebook ที่นำมาอ่านในเครื่องเราสามารถสร้างขึ้นเอง ได้ไม่ยากครับ เช่นหากไปเจอเนื้อหาข้อมูลอะไรน่าสนใจ แต่อยากเก็บไว้อ่านหรือเอาไว้แจกให้เพื่อนๆ เราก็สามารถนำมาสร้างเป็น Ebook ได้ไม่ยาก วันนี้มาแนะนำวิธีง่ายๆและฟรีๆ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ Word ซึ่งหลายๆคนก็ต้องใช้กันอยู่แน่ๆ สำหรับวิธีการทำนั้นง่ายๆมากๆๆ

ก่อนอื่นหากในเครื่อง PDA หรือ PDA Phone เรายังไม่มีโปรแกรมอ่าน Ebook ก็ต้องไป Download มาเตรียมไว้ก่อนครับ ผมขอใช้ โปรแกรมของทางไมโครซอฟท์ก็แล้วกันเพราะเขาแจกให้ใช้ฟรี
http://www.microsoft.com/reader/downloads/ppc.asp

Microsoft Reader for Pocket PC (version 2.4.1) รองรับระบบปฎิบัติการต่อไปนี้
Windows Mobile™ 2003 based Pocket PC and Phone Edition devices
Windows Mobile 2003, Second Edition based Pocket PC and Phone Edition devices
Windows Mobile 5.0 based Pocket PC and Phone Edition devices



เมื่อ Download เสร็จแล้วก็ทำการติดตั้งลงในเครื่องตามปกติเหมือนโปรแกรมทั่วๆไป

ทีนี้เรามาพูดถึงวิธีสร้างเอกสารจาก Word ให้แปลงมาอยู่ในรูป Ebook กันต่อนะครับ แน่นอนครับอันดับแรกเราจะต้องมีโปรแกรมไมโครซอฟท์ Word ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อนให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ไป Download โปรแกรมเสริมการทำงานของไมโครซอฟท์ Word ให้มีความสามารถในการแปลงเอกสารให้อยู่ในรูป Ebook กันครับ โดยสามารถไป Download ได้ฟรีอีกแล้วที่
http://www.microsoft.com/reader/developers/downloads/rmr.asp
เมื่อ Download เสร็จก็ให้ทำการติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง PC แบบตามปกติ โปรแกรมนี้จะไปฝังตัวอยู่ที่ เมนูบาร์ของโปรแกรมไมโครซอฟท์ Word ครับ สำรหับวิธีการแปลงนั้น เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า




1.เปิดโปรแกรม ไมโครซอฟท์ Word ขึ้นมาตามปกติ
2. สร้างข้อมูลเอกสารขึ้น ไม่ว่าจะพิมพ์ข้อความเอง หรืออาจจะใช้วิธี Copy ข้อความที่น่าสนใจจากที่อื่นแล้วมาแปะลงในเอกสารที่จะสร้างก็ได้ครับ ภาษาไทยก็ใช้ได้นะครับไม่ต้องเป็นห่วง




3. เมื่อพิพม์ข้อมูลเสร็จแล้ว ก็ให้คลิกที่ไอคอน MS Reader บนเมนูบาร์ตามในรูป



4.โปรแกรมจะถามนิดหน่อยแล้วมีหน้าจอให้ตั้งค่าต่างๆเช่นชื่อไฟล์ ชื่อ title แล้วก็ folder ที่จะจัดเก็บไฟล์ .lit ซึ่งเป็นไฟล์สำหรับการใช้อ่านด้วยโปรแกรม MS Reader โดยปกติแล้ว Folder ที่จะจัดเก็บเอกสารจอยู่ที่ C:Documents and Settingsชื่อเครื่อง PC My DocumentsMy Library




5. เมื่อได้ไฟล์มาแล้วก็ทำการ copy ย้ายไปด้วยวิธี Sync ตามปกติหรืออาจจะ Copy ใส่ Card แล้วไปเปิดอ่านด้วยโปรแกรม MS Reader ในเครื่อง PDA และ PDA Phone ได้ตามปกติแล้วครับ ง่ายมั่กๆๆ แบบนี้ต้องลองทำเองดูแล้วจะรู้ว่า ง่ายจริงๆ ฟรีอีกต่างหาก







ไฟล์ทดสอบที่เราได้ตั้งชื่อเอาไว้แต่แรก



ข้อมูลจาก MS Word เมื่อแปลงมาลงใน Pocket PC อ่านด้วยโปรแกรม MS Reader



แสดงภาพก็ได้ด้วยนะครับ






สามารถ Add Bookmark และลูกเล่นอื่นๆตามใจชอบ



ง่ายๆแค่นี้เราก็มี Ebook ที่ทำด้วยฝีมือตนเองแบบง่ายๆไม่ถึง 5 นาทีแล้วครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การแปลภาษาอังกฤษ

animation illustrates describes on the computer screen the audio describes the actions of the user. Another good example is seen in Figure 5.3 from our dat base sample lesson on the CD. audio narration describes the visual illustration of database table relationships. In both of these examples, the visuals are relatively complex, therefore, using audio allows the learner to focus on the visual while listwning to the explanation.
Limitations to the Modality Principle
when simultaneously presenting words and the graphics explained by the words, use spoken rather than printed text as way of reducing the demands on visual processing. We recognize that in some cases it may not be practical to implement the modality principle, because the creation of sound may involve technical demands thar the learning environment cannot meet (such as bandwidth. sound cards, headsets, and so on). Using sound also may.

แสดงให้เห็นถึงภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เสียงอธิบายการกระทำของผู้ใช้ อีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีจะเห็นในรูปที่ 5.3 จากฐานบทเรียนตัวอย่างดาดของเราอยู่ในแผ่นซีดี คำบรรยายเสียงอธิบายภาพประกอบภาพของความสัมพันธ์ของตารางฐานข้อมูล ขึ้นทั้งในด้านของตัวอย่างเหล่านี้ภาพค่อนข้างมีความซับซ้อนจึงใช้เสียงช่วยให้ผู้เรียนให้ความสำคัญกับการมองเห็นในขณะที่ listwning คำอธิบาย

ข้อ จำกัด ในหลักการการเป็นกิริยาช่วย

เมื่อคำพร้อมกันนำเสนอและกราฟิกที่อธิบายได้ด้วยคำที่ใช้พูดแทนการพิมพ์ข้อความเป็นวิธีการลดความต้องการในการประมวลผลภาพ เราตระหนักดีว่าในบางกรณีก็อาจจะไม่จริงที่จะใช้หลักการการเป็นกิริยาช่วยเพราะการสร้างเสียงที่อาจเกี่ยวข้องกับความต้องการทางด้านเทคนิคธาร์สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไม่สามารถตอบสนอง (เช่นแบนด์วิดธ์. การ์ดเสียงชุดหูฟังและอื่น ๆ ) การใช้เสียงอาจจะ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

บัญชีรายรับ-รายจ่าย

       รายรับ-รายจ่าย
  เดือนพฤศจิกายน2553
วัน-เดือน-ปีรายการรายรับรายจ่ายคงเหลือ
1/11/2010ได้รับเงินจากผู้ปกครอง2,200
กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
2,120
2/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
2,020
3/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
1,940
4/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
1,860
5/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
เล่นอินเทอร์เน็ต40
เติมน้ำมันรถจักรยานยนต์100
1,640
6/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
1,540
7/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
เดินตลาดนัด100
1,380
8/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
1,280
9/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
1,180
10/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
1,080
11/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
980
12/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
880
13/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
780
14/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
ซื้อบัตรเอแคช200
480
15/11/2010ได้รับเงินจากผู้ปกครอง2,200
กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
2,580
16/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
2,480
17/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
2,380
18/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
ซื้อเครื่องใช้ส่วนตัว80
2,200
19/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
เล่นเกม40
2,060
20/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
เล่นเกม150
1,810
21/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
1,710
22/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20.
กินน้ำ20
1,610
23/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
1,510
24/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
จ่ายค่ารายเดือนโทรศัพท์130
1,300
25/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
1,200
26/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
1,100
27/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินน้ำ20
กินขนม20
เล่นเกม50
950
28/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
850
29/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
750
30/11/2010กินข้าว 3มื้อ60
กินขนม20
กินน้ำ20
650